ผมร่วงได้ไง มาดูสาเหตุทั้งหมดกัน

ผมร่วงได้ไง มาดูสาเหตุทั้งหมดกัน

1. โรคผมบางจากพันธุกรรม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้ทั้งเพศชายและหญิง มักจะเริ่มต้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น ในผู้ชายจะมีแนวผมร่นขึ้นไปทางด้านหน้าผาก เป็นรูป M shape


คนไข้ร้อยละ 90 ที่รักษากับ แฮร์คลินิกไทย ทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด ส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่สาเหตุอื่นๆก็มีมารักษาเช่นกัน มีอะไรบ้าง อยู่ในข้อถัดไป

2. โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านภูมิคุ้มกัน ทำให้พบมีผมร่วงเป็นวงหรือเป็นหย่อม โดยที่หนังศีรษะไม่มีแผลเป็น พบได้บ่อยในวัยทำงาน สาเหตุไม่แน่ชัด บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น โรคด่างขาว โรคของต่อมธัยรอยด์ รวมถึงภาวะเครียด

3. โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ กระจายได้ทั่วศีรษะ ลักษณะคล้ายถูกมอดแทะ ถ้าสงสัยควรตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยหาโรคซิฟิลิส

4. โรคดึงผมตนเอง มักเกิดจากความเครียด พบได้บ่อยในวัยเด็กและวัยรุ่น ที่มีภาวะเครียดสูง จึงมีอาการดึงผมตนเองโดยที่ไม่รู้ตัว ลักษณะผมร่วงจะพบเป็นหย่อมที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ผู้ป่วยชอบดึง รวมถึงเส้นผมบริเวณที่ถูกดึง จะมีความยาวเส้นผมแตกต่างกัน

5. โรคกลากที่หนังศีรษะ หรือ เชื้อราที่หนังศีรษะ พบได้บ่อยในวัยเด็ก มีผมร่วงเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อมได้ บริเวณหนังศีรษะพบเป็นขุย หรือมีการอักเสบได้

6. ภาวะหลังคลอด มักพบภายใน 3 เดือนหลังคลอด พบได้บ่อย เกิดจากการผลัดของเส้นผมและส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นได้เองภายใน 3-5 เดือน โดยที่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา

7. โรคของต่อมธัยรอยด์  ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ เช่น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ ก็จะมีอาการผมร่วงทั่วๆไปได้ ควรรักษาโรคของต่อมธัยรอยด์ให้ดีขึ้น

8. การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาลดไขมัน หรือ ยากลุ่มวิตามินเอ ที่รักษาสิว ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงผิดปกติได้เช่นกัน ดังนั้นในการประเมินภาวะผมร่วง จึงควรพิจารณายาที่กินอยู่ด้วย

9. อดอาหารหรือภาวะขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน พบได้บ่อย การลดน้ำหนักอย่างผิดวิธีโดยการอดอาหาร การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเส้นผมให้แข็งแรง ผมหลุดร่วงง่าย เช่น การขาดโปรตีน ขาดวิตามินดี วิตามินบี รวมถึง การขาดธาตุเหล็ก หรือสังกะสี

10. ความเครียด หรือความวิตกกังวล เช่น ปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ การเงิน หรือมีความสูญเสียเกิดขึ้น บางคนอาจมีอาการนอนไม่หลับ ซึ่งมักเป็นเรื้อรัง

11. การได้รับยา เคมีบำบัด หรือการฉายรังสี ยาบางชนิด เช่น ยารักษาสิว ยากันชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า การได้รับเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี ทำให้เซลล์รากผมถูกทำลาย และเกิดผมร่วงตามมาได้เช่นกัน

ความรู้เพิ่มเติม

 
นพ.วริสร สุวรรณฉัตรชัย
สาขาเฉพาะด้านตจวิทยา 
(เส้นผม ผิวหนัง)
ประสบการณ์ 24 ปี