antihairloss10

ฮอร์โมนอะไรบ้างที่มีผลทำให้ผมร่วง ผมบาง

ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรนฮอร์โมน Dihydrotestosterone (DHT)

ฮอร์โมนหลักที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วงผมบาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮอร์โมนเพศชาย Testosterone

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าจะพบได้ในเฉพาะเพศชาย แต่ในความเป็นจริง

พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง

ฮอร์โมนนี้จะเข้าไปรบกวนการเจริญเติบโตของเส้นผม
ยับยั้งการทำงานของปมรากผม ทำให้เส้นผมเล็กลง อ่อนแอ ความยาวลดสั้นลงกว่าแต่ก่อน ขาดร่วงได้ง่ายขึ้น และหัวล้านในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ผมร่วงจากฮอร์โมนต่อมไทรอยด์
ปกติฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์จะช่วยเผาผลาญพลังงาน เผาผลาญอาหารต่างๆในร่างกาย แต่เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็ส่งผลให้ผมร่วง ผมบาง ได้ โดยสังเกตเบื้องต้น คือ ผิวเริ่มแห้ง เล็บเปราะแตกง่ายขึ้นกว่าเดิม อ่อนเพลียง่าย เมื่อพบว่ามีอาการลักษณะนี้ สามารถมาปรึกษาแพทย์ได้

ผมร่วงจากอินซูลิน
ผมร่วงสามารถเกิดจากอินซูลินในร่างกายมีระดับที่สูงเกินไปได้ เช่น โรครังไข่ polycystic (PCOS) ซึ่งเป็นความผิดปกติต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยมากในเพศหญิง โรคนี้จะขับเคลื่อนด้วยอินซูลินสูงเรื้อรัง (hyperinsulinemia) เป็นสาเหตุให้ผมร่วง ผมบาง เป็นสิว และน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ แต่สำหรับเพศชายที่มี hyperinsulinemia ก็เป็นสาเหตุให้ผมร่วง ผมบาง ได้เช่นกัน เมื่อระดับอินซูลินสูงเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มการผลิตเอสโตรเจน ทำให้ผู้ชายเริ่มผมร่วงได้เช่นกัน
แนะนำว่า ลดปริมาณน้ำตาลในอาหารให้ต่ำกว่า 50 กรัมต่อวัน และถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรทานอาหารหลัง 5 โมงเย็น ก็จะช่วยลดระดับอินซูลินได้

ผมร่วงจากเอสโตรเจน
ในเพศหญิงเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ และมีการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนจะเพิ่มขึ้น และลดลงหลังคลอด ก็ทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบาง ได้ นอกจากเรื่องภาวะหลังคลอดที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลแล้ว ผมร่วง ผมบาง ยังเกิดได้กับภาวะหมดประจำเดือนได้ด้วย

เมื่อพบว่าผมร่วง แนะนำมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและผิวหนัง เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ